3 กรกฎาคม 2568
สำนักข่าว CNA ระบุกระทรวงเกษตรไต้หวันกำลังดำเนินการฟื้นฟูการส่งออกเนื้อหมูสดไปยังญี่ปุ่น หลังถูกจำกัดการส่งออกตั้งแต่การระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) เมื่อปี 2540
ด้าน Hung Hsiao-chun รองอธิบดีฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (WOAH) ยอมรับให้ไต้หวันปราศจากโรคในสุกรสำคัญสามชนิดที่แรกของเอเชีย โดยคาดว่าการรับรองจากหน่วยงานสากลร่วมกับคุณภาพของเนื้อหมูไต้หวันจะช่วยขยายตลาดการส่งออกได้มากขึ้น
นอกจากนี้ เน้นย้ำว่า เนื้อหมูสดจากไต้หวันได้รับการอนุมัติให้ส่งออกไปฟิลิปปินส์ในปี 2566 และมีแผนสู่ตลาดสิงคโปร์ในปีนี้ ทั้งนี้ ตลาดญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา โดยนำเข้าหมูจากยุโรปและสหรัฐมากขึ้น ดังนั้นไต้หวันควรปรับกลยุทธ์ผ่านการตั้งเป้ามุ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อหมูกลุ่มสินค้าพรีเมียมแทน
ขณะที่ภาคเอกชน กล่าวว่า หมูส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากยุโรปและสหรัฐมักเป็นหมูแช่แข็งและขนส่งทางเรือ ซึ่งใช้เวลานานกว่าหนึ่งเดือน ขณะที่เนื้อหมูสดแช่เย็นจากไต้หวันสามารถขนส่งไปยังญี่ปุ่นผ่านช่องทางเดียวกันภายในเวลาไม่เกินห้าวัน ส่งผลให้มีรสชาติดีกว่าหมูแช่แข็งอย่างมาก พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาหมูภายในประเทศ และเพิ่มจำนวนฝูงสัตว์เพื่อเสริมเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขันของตลาด
ตามข้อมูลจากกระทรวง ไต้หวันมีหมูประมาณ 5.2 ล้านตัว และมีฟาร์มหมูประมาณ 5,700 แห่งในปี 2567 ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารแช่แข็งไต้หวัน (Taiwan Frozen Food Processors Association) ระบุว่า เนื่องจากจำนวนหมูที่จำกัด หมูที่ผลิตส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ พร้อมระบุเพิ่มเติมว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด, การขาดความสนใจจากคนรุ่นใหม่, และการต่อต้านจากสาธารณชนในการอยู่อาศัยใกล้ฟาร์มหมู อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโของอุตสาหกรรมการเลี้ยงงหมูในไต้หวัน
ที่มา: taiwannews สรุปโดย : มกอช.